วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สังคมแห่งการแบ่งปัน "การแบ่งปันประสบการณ์ ผ่านการบอกเล่า จากเพื่อนสู่เพื่อน"


ในปี 2562 หน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการ ร่วมกับคณะทำงานการจัดการความรู้ กองบริหารทั่วไป ได้ร่วมกันจัดโครงการ การแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการบอกเล่า จากเพื่อน สู่เพื่อน เรื่อง เทคนิคการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการขึ้น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของ กลุ่มบุคลากรชำนาญการสู่บุคลากรในสำนักงานวิทยาเขตและคณะฯ  เป็นการสร้างกลไกการเรียนรู้โดยอาศัยการแบ่งปันประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับชำนาญการในแต่ละตำแหน่ง เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีทักษะ ถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี ถูกต้องและชัดเจนในการปฏิบัติงาน
          แผนงานและเป้าหมายที่สอดคล้องกับส่วนงาน
            การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  
๑.      การบรรยายเทคนิควิธีการจัดทำเอกสารทางวิชาการ / คู่มือการปฏิบัติงาน 
๒.      การบรรยายแนวทางการเสนอการเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ       
๓.      แบ่งกลุ่มย่อยตามสายงานเพื่อทราบกระบวนการ การวางแผนการดำเนินงาน
แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการสร้างผลงาน (ประมาณกลุ่มละ  ๑๕  คน)

เป้าหมายจากการดำเนินการด้านการจัดการความรู้
   1.   ผู้เข้ารับร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน เทคนิคและวิธีการขอกำหนดตำแหน่งชำนาญ
       การ และสามารถเขียนผลงานเพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งได้
  2.  สำนักงานวิทยาเขตฯ มีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ มีแนวปฏิบัติที่ดี ถูกต้อง ชัดเจน บุคลากรสามารถเข้าถึง 
      ความรู้และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3.   เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร  เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสำนักงานวิทยาเขตฯ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 4.       เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร ระหว่าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge อย่างต่อเนื่องและกลายเป็นทุนมนุษย์ของสำนักงานวิทยาเขต
 5.       สนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 6.       บุคลากรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงระบบการทำงานและสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.       เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสำนักงานวิทยาเขตฯให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
สามารถส่งมอบมาตรฐานการปฏิบัติงานและการบริการที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้บริการตามที่ต้องการ

รูปแบบโมเดลที่ใช้ในการจัดการความรู้ของส่วนงาน

ผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการจัดการความรู้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากร เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กระบวนการจัดการความรู้ ประสบความสำเร็จ
1.       สำนักงานวิทยาเขต ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ จากเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๙ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้
แต่เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ เป็นการดำเนินกิจกรรมที่แฝงในงานประจำ ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้การปฏิบัติงานหลัก เช่น การประชุม Monday Talk เป็นการประชุมสรุปงานช่วงเช้าก่อนการปฏิบัติงาน โดยทุกคนช่วยกันระดมสมองในการร่วมแก้ไขปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา การลงพื้นที่คณะ /สำนัก เป็นการร่วมสัมมาทิฐิ และเยี่ยมเยือนหน่วยงาน เป็นการพบปะแบบไม่เป็นทางการ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบกันเอง ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ไม่ได้ใช้งบประมาณ
2.       ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานวิทยาเขต เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยผู้บริหารเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการ ส่วนบุคลากร เป็นผู้ดำเนินการสร้างกระบวนการ สรุปผลและเผนแพร่องค์ความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนางานประจำต่อไป
3.       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้
3.1  การพัฒนาหน้าเว็บไซน์ http://www.facebook.com/group/186263541474096/
      เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการกระจายข้อมูลข่าวสารการจัดการความรู้ และสร้างกระบวนการเรียนรู้จาก 
      การสื่อสารออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์
3.2  การสร้างไลน์กลุ่ม HR–CSC (สมาชิกเป็นบุคคลภายในหน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการ) เพื่อเป็น 
      ศูนย์กลางในการรับส่งข้อมูลประเด็นปัญหาและประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
      3.3  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (E-Office) เป็นช่องทางในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ รับ ส่งข้อมูล
                    ลดระยะเวลาในการทำงาน ลดการใช้เอกสาร ประหยัดทรัพยากร
      3.4  การอัปโหลดวิดีโอ การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซน์   
               http://www.facebook.com/group/186263541474096/  เพื่อจัดเก็บข้อมูลการจัดการความรู้และ สามารถสืบค้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Output ขององค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม เป็นแนวทางในการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรหน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการกับหน่วยงานคณะ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นส่วนช่วยในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

-          มีแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการเขียนผลงาน เพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ 
-          เกิดเครือข่ายการปฏิบัติงานร่วมกัน และเครือข่ายผู้รู้จากภายนอกองค์กร
-          เกิดประสิทธิภาพด้านการบริการ จาก Voice of Customer
-          เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ (Customer Stakeholder Relationship)
-          เกิดความพึงพอใจในกระบวนการขอตำแหน่งชำนาญการ
-          เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างลูกค้าผู้รับบริการและส่วนงานผู้ให้บริการ
-          พัฒนาคนในองค์กรให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
            Outcome
-          ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน บุคลากรมีความเชื่อมั่น มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้านำเสนอผลงาน และเกิดแรงผลักดันใจการทำงาน
-          เกิดเครือข่าย Cop ชำนาญการ พี่เลี้ยง Coaching Mentoring Training จากกิจกรรมที่ดำเนินการ
 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ต่อคน งาน ทรัพยากร และองค์กร
1.  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการองค์กร
2.  ป้องการสูญหายของภูมิปัญญา
3.  เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ เทคนิค วิธีการ เพื่อพัฒนาเพื่อน 
 ร่วมงาน และคนในองค์กรให้ได้รับความรู้ ความสามารถ และนำความรู้ความสามารถไปปฏิบัติได้จริง เป็นการพัฒนา
 คน และพัฒนาองค์กร
4.  ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือ
 แหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และความน่าเชื่อถือ ช่วยสนับสนุนการทำงานและการสร้างความมั่นใจ
5.  ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
6.  แปรรูปความรู้ที่มีอยู่ ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความประสิทธิภาพให้องค์กรในการผลิตสินค้าและบริการจากความรู้
 ที่มีเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบริการนั้น ๆ
7.  เปลี่ยนวัฒนธรรม จากวัฒนธรรมในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมในแนวราบ ซึ่งบุคลากรทุกระดับสามารถเข้าถึงความรู้ได้
 อย่างเท่าเทียม










วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จิบชา มานั่งแชร์ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่แนวปฏิบัติที่ดี (Coffee Share)

เส้นทางสานฝันสู่ตำแหน่งชำนาญการ

เป้าหมายและจุดประสงค์
ตามที่สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร มีนโยบายในการมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริหารและระบบบริการให้มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล และมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้ความเชี่ยวชาญเพื่อตอบสนองการบริหารและบริการที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าประสงค์ ในการพัฒนาบุคลากร สำนักงานวิทยาเขต ให้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร และด้านการบริการอย่ามีประสิทธิภาพ ให้บุคลากรที่มีศักยภาพ ความสามารถในการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง (Human capital competency) โครงการ/กิจกรรมต่างๆทางมหาวิทยาลัยมีแผนที่จะพัฒนาระบบบริหารพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับ พัฒนาบุคลากรในแต่ละหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการ จัดให้มีระบบพี่เลี้ยง และที่ปรึกษาในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน 
ตำแหน่งระดับชำนาญงาน ชำนาญการ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ เป็นความก้าวหน้าในตำแหน่งงานของบุคลากรสายสนับสนุน เมื่อทำงานมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วมีประสบการณ์ในการทำงาน มีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในงาน ทุกคนย่อมหวังที่จะได้รับความก้าวหน้าในอาชีพ แต่จะมีสักกี่คนที่จะทราบแนวทางและวางแผนเตรียมการที่จะเสนอขอตำแหน่ง  ดังนั้นจึงได้นำเสนอหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบเพื่อเตรียมตัวในการขอตำแหน่งดังกล่าว หลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญงาน (ตำแหน่งที่คุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี) พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้
§  คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
§  ปริมาณงานในหน้าที่
§  คุณภาพของงานในหน้าที่
§  สมรรถนะ
§  ผลงาน และจริยธรรมและจรรยาบรรณของผลงาน
ตำแหน่งระดับชำนาญการ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ (ตำแหน่งที่คุณวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป) พิจารณาจากองค์ประกอบ ๑- ๕ ของระดับชำนาญงานโดยเพิ่มเติมผลการดำเนินงานของผู้ขอตำแหน่ง ได้แก่ ผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนางาน ปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์
๑.      เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเทคนิคและแนวทางการสร้างผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้อง
๒.      เพื่อฝึกปฏิบัติแนวทางและเทคนิคการเขียนแบบประเมินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน/ชำนาญการของบุคลากรสายสนับสนุน
๓.      เพื่อเพิ่มขีดความสามารถนำเทคนิคการเขียนผลงานไปปรับใช้สร้างผลงานสู่ตำแหน่งชำนาญการ
๔.      เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์กับผู้ชำนาญการ

๕.  การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา
          เส้นทางสานฝันสู่ตำแหน่งชำนาญการ ได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองโดยการประชุม Monday Talk ของการประชุมหน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการ ถึงแนวทางการจัดการความรู้เพื่อให้บุคลากรที่มีคุณสมบัติ และผู้ที่สนใจเข้าถึงกระบวนการ เทคนิคและวิธีการเขียนผลงานเพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ จึงเกิดเป็นกระบวนการ 

KM : HR เทคนิคการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ เป็นกิจกรรมการจัดการความรู้ที่ผู้บริหารทุกระดับของสำนักงานวิทยาเขตให้การสนับสนุนดังนี้

๑.      “คุณเอื้อ” (Chief Knowledge Officer, CKO) คณะกรรมการกำกับติดตาม ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดสกลนคร เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ติดตามกำกับดูแลและสนับสนุนการทำกิจกรรมการจัดการความรู้ของหน่วยงาน
๒.      “คุณอำนวย” (Knowledge Facilitator, KF) ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตฯ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการอำนวยการให้การจัดการความรู้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยอนุมัติโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้งบประมาณที่กำหนด
๓.      “คุณกิจ” (Knowledge Pracititoner, KP) ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมหลักที่ดำเนินการ เช่น กิจกรรม We Care & We Share เป็นกิจกรรมการสัมมาทิฐิเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน โดยในกิจกรรมนี้ ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป ได้ร่วมสัมมาทิฐิกับหน่วยงาน (คณะ) เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกัน
๔.      “คุณประสาน” (Network Manager) หัวหน้างานอำนวยการ เป็นผู้ที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ และนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมไปนำเสนอผู้บริหารในการพิจารณาแนวทางแก้ไข และการสนับสนุนด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรม Share & Learn เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการจัดการความรู้ภายในหน่วย คือกิจกรรม Monday Talk ซึ่งหน่วยฯ จะดำเนินการประชุมทุกเช้าวันจันทร์ เพื่อนำปัญหาและอุปสรรค ผลการดำเนินงาน การติดตามงาน และการวางแผนการดำเนินงาน มาพูดคุย เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานได้รับทราบและสามารถเรียนรู้งานของแต่ละคน เป็นการสร้างกระบวนการ ๑ คนรู้หลายงาน ๑ งานรู้หลายคน เพื่อให้บุคลากรในหน่วยฯ สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้

 . วิธีการ แนวทาง กระบวนการดำเนินงานการจัดการความรู้
   (รายละเอียดคำอธิบาย รูปแบบ/โมเดลการจัดการความรู้)
เมื่อปี ๒๕๕๘ งานบุคคล (ชื่อหน่วยงานเดิม) ได้ดำเนินการจัดโครงการเส้นทางสานฝันสู่ตำแหน่งชำนาญการ ซึ่งเราได้เล็งเห็นความจำเป็นในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ ตระหนักในความสำคัญของความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร และสำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ยังมีนโยบายให้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของบุคลากรและเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคน สามารถสร้างผลงานทางวิชาการสู่ตำแหน่งชำนาญการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นรูปธรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและองค์กรเป็นอย่างยิ่งจำเป็นจะต้องได้รับข้อมูลหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน
จากสรุปผลการดำเนินโครงการ เส้นทางสานฝันสู่ตำแหน่งชำนาญการ ทำให้เรามองเห็นปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินงานที่ผ่านมา คือ “บุคลากรส่วนใหญ่ยังวิเคราะห์ภาระงานและไม่สามารถเขียนผลงานของตนเองได้” ดังนั้น เราจึงมีแนวคิดว่า เราควรที่จะเชิญบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งชำนาญการที่ผ่านมา จำนวน ๒๒ คน มาช่วยกันกลั่นกรองความรู้ เทคนิค วิธีการ เพื่อจะได้เป็นองค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่จะขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ จึงได้ระดมกลุ่มผู้มีองค์ความรู้ด้านกระบวนการ เทคนิค ในการขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการมาค้นหา Tacit Knowledge ด้านเทคนิค วิธีการและการกระตุ้นให้กลุ่มบุคลากรที่อยู่ระกว่างการขอตำแหน่งชำนาญการและบุคลากรที่มีคุณสมบัติ และกำหนดจัดโครงการ “เทคนิคการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ” เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรสายสนับสนุน ได้มีการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ให้บุคลากรเห็นคุณค่าของการจัดทำผลงานวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และเพื่อฝึกปฏิบัติแนวทางและเทคนิคการเขียนผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน โดยกำหนผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณ ๕๐ คน ประกอบด้วย บุคลากรสายสนับสนุนจากคณะ/หน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนงานต่าง ๆ

กระบวนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  
๑.      การบรรยายเทคนิควิธีการจัดทำเอกสารทางวิชาการ / คู่มือการปฏิบัติงาน 
๒.      การบรรยายแนวทางการเสนอการเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ       
๓.      แบ่งกลุ่มย่อยตามสายงานเพื่อทราบกระบวนการ การวางแผนการดำเนินงาน
แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการสร้างผลงาน (ประมาณกลุ่มละ  ๑๕  คน)
วิทยากรในการฝึกอบรม 
๑.      รองศาสตราจารย์ดร. อัญชสา  ประมวลเจริญกิจ ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป
๒.      นางทิตยา  สุภาวงค์  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ
๓.      นางสาวกรรณิการ์  มณฑา บุคลากรชำนาญการ  
๔.      นางสาวพัชราภรณ์  ลันศรี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
๑.      ลักษณะกิจกรรม                                                                                    
๑.      การบรรยายเทคนิคและวิธีการเขียนแบบประเมินเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการจากบุคลากรที่เชี่ยวชาญ
๒.      การบรรยายแนวทางการสัมภาษณ์การขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ
๓.      การแบ่งกลุ่มย่อยตามสายงานเพื่อทราบกระบวนการ การวางแผนการดำเนินงาน (ระบบพี่เลี้ยงการขอชำนาญการจากบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชำนาญการ)
๒.      กลุ่มเป้าหมาย
ลำดับ
กลุ่มที่ ๑ ด้านอำนวยการ
วิทยากรประจำกลุ่ม
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
คุณทิตยา  สุภาวงค์  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ
คุณวนิดา  พิลาชัย เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ
คุณปัญญา  ไพจันทร์  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ

นักประชาสัมพันธ์
นักวิเทศสัมพันธ์
นักสุขศึกษา
นักวิชาการศึกษา
นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
นักวิชาการเกษตร
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
ช่างเทคนิค




ลำดับ
       กลุ่มที่ ๒ ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน บัญชี พัสดุและคอมพิวเตอร์
วิทยากรประจำกลุ่ม
พยาบาล
คุณพัชราภรณ์  ลันศรี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
คุณนุชรินทร์  ควรครู  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
นักวิชาการพัสดุ
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
บรรณารักษ์
นักเอกสารสนเทศ
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
เจ้าหน้าที่วิจัย นักวิจัย
นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ลำดับ
       กลุ่มที่ ๓ ด้านวิทยาศาสตร์
วิทยากรประจำกลุ่ม
นักวิทยาศาสตร์
ผศ.ดร.อัญชสา  ประมวลเจริญกิจ (รักษาการแทนผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไป)

   
. รูปแบบหรือโมเดลที่ใช้ในการจัดการความรู้ของส่วนงาน
สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้ดำเนินกิจกรรม KM : HR เทคนิคการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ โดยจัดทำแผนการดำเนินกิจกรรมเอาไว้ ๓ ประเด็นคือ
      ๑.        Design หน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการ ได้ดำเนินโครงการ เส้นทางสานฝันสู่ตำแหน่งชำนาญการ 
ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และประเมินผลโครงการจากการเข้าร่วมของบุคลากร โดยการรับฟังข้อคิดเห็น การประเมินจากการสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วม เกี่ยวกับวิธีการดำเนินโครงการ ระยะเวลาและความต้องการของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ โดยส่วนใหญ่บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการจะให้ข้อเสนอแนะในเรื่องของ เทคนิคและวิธีการเขียนแบบประเมินเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ โดยขอให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเขียนขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ มาเป็นวิทยากรและช่วยแนะนำ จึงข้อมูลดังกล่าวมาดำเนินการพิจารณากำหนดประเด็นการจัดการความรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร โดยได้กำหนดวิธีการถอดความรู้จากบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งชำนาญการ ในแต่ละตำแหน่ง เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรที่มีคุณสมบัติในการขอตำแหน่งชำนาญการต่อไป

๒.        Implement จากข้อมูลที่ได้รับจาการสรุปโครงการ เส้นทางสานฝันสู่ตำแหน่งชำนาญการ และนำมาดำเนินการถอดความรู้จากบุคลากรชำนาญการ จนเกิดเป็นองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ได้ร่วมกันพิจารณา เป็นผลให้หน่วยฯ พิจารณาจัดทำแผนกิจกรรม เทคนิคการเขียนแบบประเมินผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการโดยกำหนดทีมพี่เลี้ยงสำหรับการให้คำปรึกษา ด้านเทคนิค และวิธีการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
-          กลุ่มด้านอำนวยการ
-          กลุ่มด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน บัญชี พัสดุและคอมพิวเตอร์
-          กลุ่มด้านวิทยาศาสตร์
โดยในแต่ละกลุ่มจะต้องเรียนรู้ เทคนิคการเขียนจากทีมพี่เลี้ยง และร่วมกับทีมพี่เลี้ยงในการจัดทำแผนการขอตำแหน่งชำนาญการ โดยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่มในการพิจารณาแผน และคอยกำกับติดตามให้ดำเนินการตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม
๓.        Assess เมื่อได้แผนการดำเนินการเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการของแต่ละคนแล้ว การกำกับติดตามให้บุคลากรดำเนินการตามแผน  จึงเป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยงในแต่ละกลุ่ม ร่วมมือกับหน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการในการกระตุ้นให้บุคลากรแต่ละส่วนงาน ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยมีหัวหน้าส่วนงานคอยให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวก ความสำเร็จของการจัดการความรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนแบบประเมินเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการนั้น นอกองค์ความรู้ที่ได้รับจาการกิจกรรมการจัดการความรู้ จะเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน เป็นผลงานที่เป็นเลิศจากบุคลากรที่เปลี่ยนจาก Tacit เปลี่ยนเป็น Explicit และนำไปถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถือเป็นองค์ความรู้ที่เป็นสินทรัพย์ทางปัญญาที่ยังคงอยู่ในตัวบุคคล และถูกเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้รุ่นต่อๆ ไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ และยังสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของจำนวนบุคลากรที่ได้รับชำนาญการเพิ่มขึ้น
. ผลการดำเนินการหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการจัดการความรู้  

การประเมินโครงการ
รายการประเมิน
ค่าเฉลี่ย
แปลผล
. ความเหมาะสมของกิจกรรม
. ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน
๔.๐๕ (๘๑%)
มาก
. ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในกิจกรรม
๔.๐๐ (๘๐%)
มาก
. ความรู้ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม
๒.๗๒ (๕๔.๔๐%)
ปานกลาง
. ความรู้ที่ได้รับภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
๔.๐๕ (๘๑%)
มาก
. วิทยากร
. ความรู้ความสามารถของวิทยากร
๔.๑๑ (๘๒.๒๐%)
มาก
. เทคนิคการถ่ายทอดของวิทยากร
๔.๐๕ (๘๑%)
มาก
. ความชัดเจนในการตอบคำถาม
๔.๑๑ (๘๒.๒๐%)
มาก
. เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและแสดงความคิดเห็น
๔.๑๑ (๘๒.๒๐%)
มาก
. สถานที่และบริการอื่นๆ


.ความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม
๔.๑๑ (๘๒.๒๐%)
มาก
.ความเหมาะสมของเครื่องมือ/อุปกรณ์
๔.๐๕ (๘๑%)
มาก
.ความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่ม
๔.๑๖ (๘๓.๒๐%)
มาก
ค่าเฉลี่ยรวม
๓.๙๕ (๗๙.๐๐%)
มาก
จำนวน ผู้ตอบแบบประเมินโครงการ ทั้งสิ้น ๔๓  คน
บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน
            ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ เนื่องจากผู้บริหารต้องกำหนดทิศทางการจัดการความรู้ และให้

แนวทางการดำเนินการ วางเป้าหมายและสร้างนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตรงตามวิสัยทัศน์ขององค์กร บุคลากรในหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่แฝงอยู่ในงานประจำ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาปรับใช้ในการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ
ลดทรัพยากรขององค์กร