วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สังคมแห่งการแบ่งปัน "การแบ่งปันประสบการณ์ ผ่านการบอกเล่า จากเพื่อนสู่เพื่อน"


ในปี 2562 หน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการ ร่วมกับคณะทำงานการจัดการความรู้ กองบริหารทั่วไป ได้ร่วมกันจัดโครงการ การแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการบอกเล่า จากเพื่อน สู่เพื่อน เรื่อง เทคนิคการเขียนผลงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการขึ้น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของ กลุ่มบุคลากรชำนาญการสู่บุคลากรในสำนักงานวิทยาเขตและคณะฯ  เป็นการสร้างกลไกการเรียนรู้โดยอาศัยการแบ่งปันประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับชำนาญการในแต่ละตำแหน่ง เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีทักษะ ถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี ถูกต้องและชัดเจนในการปฏิบัติงาน
          แผนงานและเป้าหมายที่สอดคล้องกับส่วนงาน
            การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  
๑.      การบรรยายเทคนิควิธีการจัดทำเอกสารทางวิชาการ / คู่มือการปฏิบัติงาน 
๒.      การบรรยายแนวทางการเสนอการเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ       
๓.      แบ่งกลุ่มย่อยตามสายงานเพื่อทราบกระบวนการ การวางแผนการดำเนินงาน
แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการสร้างผลงาน (ประมาณกลุ่มละ  ๑๕  คน)

เป้าหมายจากการดำเนินการด้านการจัดการความรู้
   1.   ผู้เข้ารับร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน เทคนิคและวิธีการขอกำหนดตำแหน่งชำนาญ
       การ และสามารถเขียนผลงานเพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งได้
  2.  สำนักงานวิทยาเขตฯ มีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ มีแนวปฏิบัติที่ดี ถูกต้อง ชัดเจน บุคลากรสามารถเข้าถึง 
      ความรู้และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3.   เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร  เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสำนักงานวิทยาเขตฯ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 4.       เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร ระหว่าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge อย่างต่อเนื่องและกลายเป็นทุนมนุษย์ของสำนักงานวิทยาเขต
 5.       สนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 6.       บุคลากรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงระบบการทำงานและสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.       เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสำนักงานวิทยาเขตฯให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
สามารถส่งมอบมาตรฐานการปฏิบัติงานและการบริการที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้บริการตามที่ต้องการ

รูปแบบโมเดลที่ใช้ในการจัดการความรู้ของส่วนงาน

ผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการจัดการความรู้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากร เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กระบวนการจัดการความรู้ ประสบความสำเร็จ
1.       สำนักงานวิทยาเขต ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ จากเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.. ๒๕๕๙ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้
แต่เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ เป็นการดำเนินกิจกรรมที่แฝงในงานประจำ ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้การปฏิบัติงานหลัก เช่น การประชุม Monday Talk เป็นการประชุมสรุปงานช่วงเช้าก่อนการปฏิบัติงาน โดยทุกคนช่วยกันระดมสมองในการร่วมแก้ไขปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา การลงพื้นที่คณะ /สำนัก เป็นการร่วมสัมมาทิฐิ และเยี่ยมเยือนหน่วยงาน เป็นการพบปะแบบไม่เป็นทางการ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบกันเอง ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ไม่ได้ใช้งบประมาณ
2.       ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานวิทยาเขต เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยผู้บริหารเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการ ส่วนบุคลากร เป็นผู้ดำเนินการสร้างกระบวนการ สรุปผลและเผนแพร่องค์ความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนางานประจำต่อไป
3.       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้
3.1  การพัฒนาหน้าเว็บไซน์ http://www.facebook.com/group/186263541474096/
      เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการกระจายข้อมูลข่าวสารการจัดการความรู้ และสร้างกระบวนการเรียนรู้จาก 
      การสื่อสารออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์
3.2  การสร้างไลน์กลุ่ม HR–CSC (สมาชิกเป็นบุคคลภายในหน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการ) เพื่อเป็น 
      ศูนย์กลางในการรับส่งข้อมูลประเด็นปัญหาและประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
      3.3  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (E-Office) เป็นช่องทางในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ รับ ส่งข้อมูล
                    ลดระยะเวลาในการทำงาน ลดการใช้เอกสาร ประหยัดทรัพยากร
      3.4  การอัปโหลดวิดีโอ การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซน์   
               http://www.facebook.com/group/186263541474096/  เพื่อจัดเก็บข้อมูลการจัดการความรู้และ สามารถสืบค้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Output ขององค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม เป็นแนวทางในการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรหน่วยทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการกับหน่วยงานคณะ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นส่วนช่วยในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ

-          มีแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการเขียนผลงาน เพื่อขอกำหนดตำแหน่งชำนาญการ 
-          เกิดเครือข่ายการปฏิบัติงานร่วมกัน และเครือข่ายผู้รู้จากภายนอกองค์กร
-          เกิดประสิทธิภาพด้านการบริการ จาก Voice of Customer
-          เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ (Customer Stakeholder Relationship)
-          เกิดความพึงพอใจในกระบวนการขอตำแหน่งชำนาญการ
-          เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างลูกค้าผู้รับบริการและส่วนงานผู้ให้บริการ
-          พัฒนาคนในองค์กรให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
            Outcome
-          ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน บุคลากรมีความเชื่อมั่น มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้านำเสนอผลงาน และเกิดแรงผลักดันใจการทำงาน
-          เกิดเครือข่าย Cop ชำนาญการ พี่เลี้ยง Coaching Mentoring Training จากกิจกรรมที่ดำเนินการ
 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ต่อคน งาน ทรัพยากร และองค์กร
1.  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการองค์กร
2.  ป้องการสูญหายของภูมิปัญญา
3.  เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ เทคนิค วิธีการ เพื่อพัฒนาเพื่อน 
 ร่วมงาน และคนในองค์กรให้ได้รับความรู้ ความสามารถ และนำความรู้ความสามารถไปปฏิบัติได้จริง เป็นการพัฒนา
 คน และพัฒนาองค์กร
4.  ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือ
 แหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และความน่าเชื่อถือ ช่วยสนับสนุนการทำงานและการสร้างความมั่นใจ
5.  ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
6.  แปรรูปความรู้ที่มีอยู่ ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความประสิทธิภาพให้องค์กรในการผลิตสินค้าและบริการจากความรู้
 ที่มีเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบริการนั้น ๆ
7.  เปลี่ยนวัฒนธรรม จากวัฒนธรรมในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมในแนวราบ ซึ่งบุคลากรทุกระดับสามารถเข้าถึงความรู้ได้
 อย่างเท่าเทียม










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น